วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แบบทดสอบ



แบบทดสอบความเข้าใจ ในเรื่องปฎิจจสมุปปบาท
         หลังจากที่ได้ศึกษาหรืออ่านจากบทความแล้ว ขอความกรุณา ท่านได้ทำเเบบสอบถาม เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ในการเผยเเผ่หลักธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธสาสนาต่อไป โดยสามารถ คลิก เข้าไปที่ ลิงค์ ด้านล่างนี้ได้เลย 






นามรูป

นามรูป (Animated Organism)


องคาพยพ ส่วนประกอบของชีวิต ทั้งกายและใจ

เมื่อนามรูปตื่นตัวทำงานพร้อมอยู่ในรูปแบบ ลักษณะ หรือ ทิศทาง อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น มันต้องอาศัยบริการของอายตนะใดๆ เป็นสื่อป้อนความรู้หรือเป็นช่องทางดำเนินพฤติกรรม อายตนะนั้นๆ ก็จะถูกปลุกเร้าให้พร้อมในการทำหน้าที่

Feeling, perception, intention, contact, and attention: This is called name (i.e. mentality or mind). The four great elements, and the body dependent on the four great elements: This is called form (i.e. corporeality or body).




ที่มา : http://www.chatchawan.net/2013/05.html

สฬายตนะและผัสสะ

สฬายตนะ (The Six Sense Bases)

สื่อแห่งการรับรู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เมื่ออายตนะต่างๆ มี ผัสสะ การรับรู้รับอารมณ์ด้านต่างๆ เหล่านั้นจึงมีได้ เมื่ออายตนะใดทำหน้าที่ ก็มีผัสสะคือการรับรู้รับอารมณ์ โดยอาศัยอายตนะนั้นได้

The eyes, ears, nose, tongue, body and mind are the six sense media.



ผัสสะ (Contact)

การรับรู้ การติดต่อกับโลกภายนอก การประสบอารมณ์

เมื่อมีการรับรู้อารมณ์นั้นแล้ว ก็ต้องมีความรู้สึกที่เป็นเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่สุขสบาย ก็ทุกข์ ไม่สบาย หรือ ไม่ก็เฉยๆ

The coming together of the object, the sense medium and the consciousness of that sense medium is called contact.




ที่มา : http://www.chatchawan.net/2013/05.html

เวทนา

เวทนา (Feeling)


การรู้สึกสุข ทุกข์ สบาย ไม่สบาย หรือเฉยๆ

เมื่อรับรู้อารมณ์ใด ได้ความสุขสบายชื่นใจ ก็ชอบใจ ติดใจ อยากได้อารมณ์นั้น เกิดเป็นกามตัณหา อยากคงอยู่ อยากเข้าอยู่ในภาวะที่จะได้ครอบครองเสวยสุขเวทนาจากอารมณ์นั้น เกิดเป็นภวตัณหา เมื่อรับรู้อารมณ์ใด เกิดความทุกข์บีบคั้นไม่สบาย ก็เกลียดชัง ขัดใจ อยากพรากอยากพ้น อยากกำจัด ทำให้สูญหายไป เกิดเป็นวิภวตัณหา ถ้ารู้สึกเฉยๆ ก็เรื่อยๆ ซึมๆ เพลินๆ อยู่ในโมหะ และติดอยากได้สุข เวทนาอ่อนๆ พร้อมที่จะขยายออกเป็นความอยากได้สุขเวทนาต่อไป

Feeling or sensations are of six forms: vision, hearing, olfactory sensation, gustatory sensation, tactile sensation, and intellectual sensation (thought).



ที่มา : http://www.chatchawan.net/2013/05.html

ตัณหา

ตัณหา (Craving)


ความอยาก คือ อยากได้ อยากเป็น อยากคงอยู่ต่อไป อยากเลี่ยง หรือ ทำลาย



เมื่อความอยากนั้นแรงขึ้น ก็กลายเป็นยึดติด เหมือนจับถือค้างอยู่ในใจ วางไม่ลง เกิดมีท่าทีขึ้นมาอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งนั้น ถ้าชอบ ก็เอาตัวตนเข้าไปผูกติดเหมือนดังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมัน ใจคล้อยตามมันไป อะไรเกี่ยวกับมันเป็นเห็นดีเห็นงามไปหมด อะไรกระทบมันเป็นกระทบถึงเราด้วย ถ้าชัง ก็เกิดความรู้สึกปะทะกระทบเหมือนดังเป็นตัวปรปักษ์คู่กรณีกับตน อะไรเกี่ยวกับสิ่งนั้น บุคคลนั้น หรือ ภาวะนั้น ให้รู้สึกกระทบกระแทกขัดผลักผละอยู่เรื่อย ไม่เห็นดีไม่เห็นงาม มันขยับเขยื้อนทำอะไร เป็นดังกระทำต่อเราไปหมด พร้อมกันนี้ ท่าทีไม่ว่าในทางชอบหรือในทางชังก็ตาม ย่อมเป็นเครื่องเสริมย้ำและเป็นไปด้วยกันกับความยึดติดถือมั่นเชิดชูคุณค่าความสำคัญของสิ่งต่อไปนี้ คือ สิ่งปรนเปรออำนวยความสุขที่จะถูกได้ หรือ ถูกขัด ถูกแย่ง (กาม) ความเห็น ความเข้าใจ เกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเกี่ยวกับโลกและชีวิต (ทิฏฐิ) ระบบแบบแผน ข้อปฏิบัติ พิธีกรรม วิธีการต่างๆ ที่จะให้บรรลุผลสำเร็จทั้งในทางที่จะได้และที่จะเลี่ยงพ้น (ศีลวัตร) และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวตนที่จะได้ หรือ ที่ถูกปะทะขัดขวาง (อัตตวาท)

There are these six forms of cravings: cravings with respect to forms, sounds, smells, tastes, touch (massage, sex, pain), and ideas.


ที่มา : http://www.chatchawan.net/2013/05.html

อุปาทาน

อุปาทาน (Attachment, Clinging)


ความยึดติดถือมั่น ความผูกพันถือค้างไว้ในใจ การถือรวมเข้ากับตัว




เมื่อมีความยึดถือ มีท่าทีต่อสิ่ง บุคคล หรือภาวะอันใดอันหนึ่ง อย่างหนึ่งอย่างใด คนก็สร้างภพหรือ ภาวะชีวิตของเขาขึ้นตามความยึดถือ หรือ ท่าทีอย่างนั้น ทั้งในด้านกระบวนพฤติกรรมทั้งหมด (กรรมภพ) เริ่มแต่ระบบความคิด หรือ นิสัยของความคิดออกมา และในด้านบุคลิกภาพ ทั้งรูปและนามธรรมที่เป็นลักษณะหรือภาวะแห่งชีวิตของเขาในเวลานั้น (อุปัตติภพ) เช่น กระบวนพฤติกรรม และบุคลิกภาพของคนอยากร่ำรวย คนชอบอำนาจ คนชอบเด่นดัง คนชอบสวยงาม คนชอบโก้เก๋ คนเกลียดสังคม เป็นต้น

These four are clingings: sensual clinging, view clinging, practice clinging, and self clinging.


ที่มา : http://www.chatchawan.net/2013/05.html

ภพ และ ชาติ

ภพ (Process of Becoming)


ภาวะชีวิตที่เป็นอยู่ เป็นไป บุคลิกภาพ กระบวนพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล

เมื่อเกิดมีภพ ที่จะเข้าอยู่เข้าครอบครองเฉพาะตัวแล้ว ก็ปรากฏตัวตน เป็นความรู้สึกตระหนักอันชัดเจน ที่เข้าอยู่ครอบครองหรือสอดสวมรับเอาภพ หรือ ภาวะชีวิตนั้น โดยมีอาการถือหรือออกรับว่าเป็นเจ้าของภพ เป็นผู้เสวยผล เป็นผู้กระทำ เป็นผู้รับการกระทบกระแทก เป็นผู้ชนะ ผู้แพ้ เป็นผู้ได้ ผู้เสีย เป็นต้น อยู่ในภพนั้น

These three are becoming: sensual becoming, form becoming, formless becoming.



ชาติ (Birth)


การเกิดมีตัวที่คอยออกรู้ออกรับเป็นผู้อยู่ในภาวะชีวิตนั้น เป็นเจ้าของบทบาท ความเป็นอยู่เป็นไป

เมื่อเกิดมีตัวตน เข้าอยู่ครอบครอง หรือ ภาวะชีวิตนั้นแล้ว การที่จะได้ประสบความเป็นไป ทั้งในทางเสื่อมถอยด้อยลงในภพนั้น การถูกกระแทกระเทือนและการที่จะสูญเสียหลุดหล่นออกไปจากภพนั้นด้วย โดยเฉพาะ ที่ต้องถูกคุกคามห่วงกังวลเกี่ยวกับความเสื่อมสูญจากภพนั้น และ การที่จะต้องคอยรักษาภพนั้นอยู่ตลอดเวลา ความลดด้อยถอยเสื่อมสูญเสีย และการคอยถูกคุกคามเหล่านี้ ล้วนนำ โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น คือ ความทุกข์มาให้ได้ตลอดทุกเวลา

Birth is any coming-to-be or coming-forth. It refers not just to birth at the beginning of a lifetime, but to birth as new person, acquisition of a new status or position etc.


ที่มา : http://www.chatchawan.net/2013/05.html

ชรามรณะฯ

ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (Decay and Death)


การประสบความเสื่อม ความไม่มั่นคง ความสูญเสียจบสิ้นแห่งการที่ตัวได้อยู่ ครอบครองภาวะชีวิตนั้นๆ ความเศร้าเสียใจ เหี่ยวแห้งใจ คร่ำครวญ หวนไห้ เจ็บปวดรวดร้าว น้อยใจ สิ้นหวัง คับแค้นใจ คือ อาการหรือรูปต่างๆของความทุกข์ อันเป็นของเสียมีพิษที่คั่งค้างหมักหมม กดดันอั้นอยู่ภายใน ซึ่งคอยจะระบายออกมา เป็นทั้งปัญหา และ ปมก่อปัญหาต่อๆไป

Once a new situation or a new being has emerged, it is inevitable that the conditions which brought about its appearance will change. This, the last of the twelve motifs, points to the inevitability of decay and death. Decay affects all structures, which are but fleeting stabilizations fed by the energy flow of habitual patterning. When the cessation of the continuity of experience occurs, we speak of death. It is the total breakdown and dissolution of experience and experiencer.

The process of disintegration, destructuring, and entropic scattering yields a nexus of vibratory murkiness which is the condition of avidyā, the first motif. Thus the entire structure of patterning feeds back on itself, and is often pictured as a circle of twelve sections, called the Wheel of Life (bhavacakra, srid-pa’i-‘khor-lo).

ที่มา : http://www.chatchawan.net/2013/05.html