วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แบบทดสอบ



แบบทดสอบความเข้าใจ ในเรื่องปฎิจจสมุปปบาท
         หลังจากที่ได้ศึกษาหรืออ่านจากบทความแล้ว ขอความกรุณา ท่านได้ทำเเบบสอบถาม เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ในการเผยเเผ่หลักธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธสาสนาต่อไป โดยสามารถ คลิก เข้าไปที่ ลิงค์ ด้านล่างนี้ได้เลย 






นามรูป

นามรูป (Animated Organism)


องคาพยพ ส่วนประกอบของชีวิต ทั้งกายและใจ

เมื่อนามรูปตื่นตัวทำงานพร้อมอยู่ในรูปแบบ ลักษณะ หรือ ทิศทาง อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น มันต้องอาศัยบริการของอายตนะใดๆ เป็นสื่อป้อนความรู้หรือเป็นช่องทางดำเนินพฤติกรรม อายตนะนั้นๆ ก็จะถูกปลุกเร้าให้พร้อมในการทำหน้าที่

Feeling, perception, intention, contact, and attention: This is called name (i.e. mentality or mind). The four great elements, and the body dependent on the four great elements: This is called form (i.e. corporeality or body).




ที่มา : http://www.chatchawan.net/2013/05.html

สฬายตนะและผัสสะ

สฬายตนะ (The Six Sense Bases)

สื่อแห่งการรับรู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เมื่ออายตนะต่างๆ มี ผัสสะ การรับรู้รับอารมณ์ด้านต่างๆ เหล่านั้นจึงมีได้ เมื่ออายตนะใดทำหน้าที่ ก็มีผัสสะคือการรับรู้รับอารมณ์ โดยอาศัยอายตนะนั้นได้

The eyes, ears, nose, tongue, body and mind are the six sense media.



ผัสสะ (Contact)

การรับรู้ การติดต่อกับโลกภายนอก การประสบอารมณ์

เมื่อมีการรับรู้อารมณ์นั้นแล้ว ก็ต้องมีความรู้สึกที่เป็นเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่สุขสบาย ก็ทุกข์ ไม่สบาย หรือ ไม่ก็เฉยๆ

The coming together of the object, the sense medium and the consciousness of that sense medium is called contact.




ที่มา : http://www.chatchawan.net/2013/05.html

เวทนา

เวทนา (Feeling)


การรู้สึกสุข ทุกข์ สบาย ไม่สบาย หรือเฉยๆ

เมื่อรับรู้อารมณ์ใด ได้ความสุขสบายชื่นใจ ก็ชอบใจ ติดใจ อยากได้อารมณ์นั้น เกิดเป็นกามตัณหา อยากคงอยู่ อยากเข้าอยู่ในภาวะที่จะได้ครอบครองเสวยสุขเวทนาจากอารมณ์นั้น เกิดเป็นภวตัณหา เมื่อรับรู้อารมณ์ใด เกิดความทุกข์บีบคั้นไม่สบาย ก็เกลียดชัง ขัดใจ อยากพรากอยากพ้น อยากกำจัด ทำให้สูญหายไป เกิดเป็นวิภวตัณหา ถ้ารู้สึกเฉยๆ ก็เรื่อยๆ ซึมๆ เพลินๆ อยู่ในโมหะ และติดอยากได้สุข เวทนาอ่อนๆ พร้อมที่จะขยายออกเป็นความอยากได้สุขเวทนาต่อไป

Feeling or sensations are of six forms: vision, hearing, olfactory sensation, gustatory sensation, tactile sensation, and intellectual sensation (thought).



ที่มา : http://www.chatchawan.net/2013/05.html

ตัณหา

ตัณหา (Craving)


ความอยาก คือ อยากได้ อยากเป็น อยากคงอยู่ต่อไป อยากเลี่ยง หรือ ทำลาย



เมื่อความอยากนั้นแรงขึ้น ก็กลายเป็นยึดติด เหมือนจับถือค้างอยู่ในใจ วางไม่ลง เกิดมีท่าทีขึ้นมาอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งนั้น ถ้าชอบ ก็เอาตัวตนเข้าไปผูกติดเหมือนดังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมัน ใจคล้อยตามมันไป อะไรเกี่ยวกับมันเป็นเห็นดีเห็นงามไปหมด อะไรกระทบมันเป็นกระทบถึงเราด้วย ถ้าชัง ก็เกิดความรู้สึกปะทะกระทบเหมือนดังเป็นตัวปรปักษ์คู่กรณีกับตน อะไรเกี่ยวกับสิ่งนั้น บุคคลนั้น หรือ ภาวะนั้น ให้รู้สึกกระทบกระแทกขัดผลักผละอยู่เรื่อย ไม่เห็นดีไม่เห็นงาม มันขยับเขยื้อนทำอะไร เป็นดังกระทำต่อเราไปหมด พร้อมกันนี้ ท่าทีไม่ว่าในทางชอบหรือในทางชังก็ตาม ย่อมเป็นเครื่องเสริมย้ำและเป็นไปด้วยกันกับความยึดติดถือมั่นเชิดชูคุณค่าความสำคัญของสิ่งต่อไปนี้ คือ สิ่งปรนเปรออำนวยความสุขที่จะถูกได้ หรือ ถูกขัด ถูกแย่ง (กาม) ความเห็น ความเข้าใจ เกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเกี่ยวกับโลกและชีวิต (ทิฏฐิ) ระบบแบบแผน ข้อปฏิบัติ พิธีกรรม วิธีการต่างๆ ที่จะให้บรรลุผลสำเร็จทั้งในทางที่จะได้และที่จะเลี่ยงพ้น (ศีลวัตร) และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวตนที่จะได้ หรือ ที่ถูกปะทะขัดขวาง (อัตตวาท)

There are these six forms of cravings: cravings with respect to forms, sounds, smells, tastes, touch (massage, sex, pain), and ideas.


ที่มา : http://www.chatchawan.net/2013/05.html

อุปาทาน

อุปาทาน (Attachment, Clinging)


ความยึดติดถือมั่น ความผูกพันถือค้างไว้ในใจ การถือรวมเข้ากับตัว




เมื่อมีความยึดถือ มีท่าทีต่อสิ่ง บุคคล หรือภาวะอันใดอันหนึ่ง อย่างหนึ่งอย่างใด คนก็สร้างภพหรือ ภาวะชีวิตของเขาขึ้นตามความยึดถือ หรือ ท่าทีอย่างนั้น ทั้งในด้านกระบวนพฤติกรรมทั้งหมด (กรรมภพ) เริ่มแต่ระบบความคิด หรือ นิสัยของความคิดออกมา และในด้านบุคลิกภาพ ทั้งรูปและนามธรรมที่เป็นลักษณะหรือภาวะแห่งชีวิตของเขาในเวลานั้น (อุปัตติภพ) เช่น กระบวนพฤติกรรม และบุคลิกภาพของคนอยากร่ำรวย คนชอบอำนาจ คนชอบเด่นดัง คนชอบสวยงาม คนชอบโก้เก๋ คนเกลียดสังคม เป็นต้น

These four are clingings: sensual clinging, view clinging, practice clinging, and self clinging.


ที่มา : http://www.chatchawan.net/2013/05.html

ภพ และ ชาติ

ภพ (Process of Becoming)


ภาวะชีวิตที่เป็นอยู่ เป็นไป บุคลิกภาพ กระบวนพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล

เมื่อเกิดมีภพ ที่จะเข้าอยู่เข้าครอบครองเฉพาะตัวแล้ว ก็ปรากฏตัวตน เป็นความรู้สึกตระหนักอันชัดเจน ที่เข้าอยู่ครอบครองหรือสอดสวมรับเอาภพ หรือ ภาวะชีวิตนั้น โดยมีอาการถือหรือออกรับว่าเป็นเจ้าของภพ เป็นผู้เสวยผล เป็นผู้กระทำ เป็นผู้รับการกระทบกระแทก เป็นผู้ชนะ ผู้แพ้ เป็นผู้ได้ ผู้เสีย เป็นต้น อยู่ในภพนั้น

These three are becoming: sensual becoming, form becoming, formless becoming.



ชาติ (Birth)


การเกิดมีตัวที่คอยออกรู้ออกรับเป็นผู้อยู่ในภาวะชีวิตนั้น เป็นเจ้าของบทบาท ความเป็นอยู่เป็นไป

เมื่อเกิดมีตัวตน เข้าอยู่ครอบครอง หรือ ภาวะชีวิตนั้นแล้ว การที่จะได้ประสบความเป็นไป ทั้งในทางเสื่อมถอยด้อยลงในภพนั้น การถูกกระแทกระเทือนและการที่จะสูญเสียหลุดหล่นออกไปจากภพนั้นด้วย โดยเฉพาะ ที่ต้องถูกคุกคามห่วงกังวลเกี่ยวกับความเสื่อมสูญจากภพนั้น และ การที่จะต้องคอยรักษาภพนั้นอยู่ตลอดเวลา ความลดด้อยถอยเสื่อมสูญเสีย และการคอยถูกคุกคามเหล่านี้ ล้วนนำ โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น คือ ความทุกข์มาให้ได้ตลอดทุกเวลา

Birth is any coming-to-be or coming-forth. It refers not just to birth at the beginning of a lifetime, but to birth as new person, acquisition of a new status or position etc.


ที่มา : http://www.chatchawan.net/2013/05.html

ชรามรณะฯ

ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (Decay and Death)


การประสบความเสื่อม ความไม่มั่นคง ความสูญเสียจบสิ้นแห่งการที่ตัวได้อยู่ ครอบครองภาวะชีวิตนั้นๆ ความเศร้าเสียใจ เหี่ยวแห้งใจ คร่ำครวญ หวนไห้ เจ็บปวดรวดร้าว น้อยใจ สิ้นหวัง คับแค้นใจ คือ อาการหรือรูปต่างๆของความทุกข์ อันเป็นของเสียมีพิษที่คั่งค้างหมักหมม กดดันอั้นอยู่ภายใน ซึ่งคอยจะระบายออกมา เป็นทั้งปัญหา และ ปมก่อปัญหาต่อๆไป

Once a new situation or a new being has emerged, it is inevitable that the conditions which brought about its appearance will change. This, the last of the twelve motifs, points to the inevitability of decay and death. Decay affects all structures, which are but fleeting stabilizations fed by the energy flow of habitual patterning. When the cessation of the continuity of experience occurs, we speak of death. It is the total breakdown and dissolution of experience and experiencer.

The process of disintegration, destructuring, and entropic scattering yields a nexus of vibratory murkiness which is the condition of avidyā, the first motif. Thus the entire structure of patterning feeds back on itself, and is often pictured as a circle of twelve sections, called the Wheel of Life (bhavacakra, srid-pa’i-‘khor-lo).

ที่มา : http://www.chatchawan.net/2013/05.html

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิญญาณ

วิญญาณ (Consciousness)


ความรู้ต่อโลกภายนอก ต่อเรื่องราวในจิตใจ สภาพพื้นจิต

เมื่อมีวิญญาณที่รู้เห็น ได้ยิน เป็นต้น ก็ต้องมีรูปธรรมนามธรรมต่างๆ ที่เป็นตัวร่วมงานร่วมอาศัยกันของวิญญาณนั้น เช่น อวัยวะที่เกี่ยวข้อง เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย ต่างก็ต้องทำงานร่วมไปด้วยตามหน้าที่ ยิ่งกว่านั้น วิญญาณขณะนั้นถูกปรุงแต่งให้เป็นอย่างไร นามธรรมรูปธรรมทั้งหลายที่แสดงตัวออกมาร่วมงานในขณะนั้นๆ ก็จะมีแต่จำพวกที่เป็นทำนองนั้น หรือ พลอยมีคุณสมบัติอย่างนั้นไปด้วย เช่นเมื่อวิญญาณ ประกอบด้วยสังขารจำพวกโกรธ เป็นตัวปรุงแต่ง สัญญาที่ออกโรงด้วย ก็จะเป็นสัญญาเกี่ยวกับ ถ้อยคำหยาบคาย คำด่า ตลอดจนมีดพร้าอาวุธเป็นต้น รูปธรรม เช่น หน้าตาก็จะบูดบึ้ง กล้ามเนื้อเขม็งเครียด เลือดไหลฉีดแรง เวทนาก็บีบคั้น เป็นทุกข์ เป็นต้น เมื่อวิญญาณเป็นไปในสภาพอย่างใดซ้ำบ่อย นามธรรมและรูปธรรม ที่เกิดดับสืบต่อก็จะก่อเป็นลักษณะกายใจจำเพาะตัวที่เรียกว่าบุคลิกภาพอย่างนั้น

These six are classes of consciousness: eye-consciousness, ear-consciousness, nose-consciousness, tongue-consciousness, body-consciousness, intellect-consciousness. This is called consciousness. As seen earlier, consciousness and the organ cannot function without each other.





ที่มา : http://www.chatchawan.net/2013/05.html


สังขาร

สังขาร (Volitional Activities)


ความคิดปรุงแต่ง เจตน์จำนง จิตนิสัย และทุกสิ่งที่จิตได้สั่งสมอบรมไว้ เมื่อมีเจตนาคิดมุ่งหมายตั้งใจ หรือ ใจเลือกที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งใด หรือ รู้รับอะไรๆ จึงจะเกิด มีวิญญาณ คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส รู้คิดต่อเรื่องนั้นๆ สิ่งนั้นๆ โดยเฉพาะเจตนาจักจูงนำจิตนำวิญญาณให้คิด ให้รับรู้ไปในเรื่องที่มันต้องการปรุงแต่งเรื่องไปไม่รู้จักจบสิ้น และพร้อมกันนั้น มันก็จะปรุงแต่งสภาพพื้นเพของจิต หรือ ของวิญญาณนั้น ให้กลายเป็นจิตที่ดีงามหรือชั่วร้าย มีคุณธรรม ไร้คุณธรรม หรือ มีคุณสมบัติต่างๆ ตามแต่เจตนาที่ดี หรือ ชั่วนั้นๆ ด้วย

Fabrications (Volitional Formations / Volitional Activities). These three are fabrications: bodily fabrications, verbal fabrications, mental fabrications. These are called fabrications.



ที่มา  :  http://www.chatchawan.net

อวิชชา

อวิชชา  (Ignorance Lack of Knowledge)


ความไม่รู้ ไม่รู้ตามเป็นจริง การไม่ใช้ปัญญา และเพราะไม่รู้ความจริง ไม่เห็นความจริง ไม่รู้ข้อเท็จจริง ไม่เข้าใจชัดเจน หรือไม่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาในขณะที่ประสบสถานการณ์นั้นๆ จึงคิดปรุงแต่งไปต่างๆ เดาเอาบ้าง คิดวาดภาพเอาเองต่างๆ ฟุ้งเฟ้อวุ่นวายไปบ้าง นึกเห็นมั่นหมายไปตามความเชื่อ ความหวาดระแวง หรือแนวนิสัยของตนที่ได้สั่งสมไว้บ้าง ตลอดจนตั้งใจ คิดมุ่งหมายว่าจะเอาอย่างไร ๆ จะพูดจะทำอะไรๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้น


Not knowing suffering, not knowing the origination of suffering, not knowing the cessation of suffering, not knowing the way of practice leading to the cessation of suffering: This is called ignorance.


ที่มา   :  http://www.chatchawan.net

ปฏิจจสมุปบาท หลายนัย

     


     1. ธัมฐิตตา หรือ ธัมมฐิติ   คือ  ความดำรงอยู่ตามธรรม  หมายถึง  ความดำรงอยู่ตามปัจจัย  สิ่งที่ดำรงอยู่ตามปัจจัยนั้น ก็คือ อวิชชา  สังขาร  ฯลฯ  ชาติ  ชรามรณะ  ซึ่งก็หมายความว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้สังขารดำรงอยู่  สังขารเป็นปัจจัยให้วิญญาณดำรงอยู่  วิญญาณเป็นปัจจัยให้นามรูปดำรงอยู่  นามรูปเป็นปัจจัยให้สฬายตนะดำรงอยู่   สฬายตนะเป็นปัจจัยให้ผัสสะดำรงอยู่  ผัสสะเป็นปัจจัยให้เวทนาดำรงอยู่   เวทนาเป็นปัจจัยให้ตัณหาดำรงอยู่   ตัณหาเป็นปัจจัยให้อุปาทานดำรงอยู่   อุปาทานเป็นปัจจัยให้ภพดำรงอยู่  ภพเป็นปัจจัยให้ชาติดำรงอยู่  ชาติเป็นปัจจัยให้ชรามรณะดำรงอยู่   เมื่อชาติชรามรณะยังดำรงอยู่แน่นอนว่า โสกะ  (ความโศก)  ปริเทวะ  (ความร้องไห้คร่ำครวญ)  ทุกข์  (ความทุกข์กาย)  โทมนัส (ความทุกข์ใจ)  อุปายาส  (ความคับแค้นใจ)  ก็ยังดำรงอยู่ด้วย
     2.  ธัมมนิยามตา หรือ ธัมมนิยาม  คือ ความแน่นอนแห่งธรรม  หรือความแน่นอนตามธรรม  หมายถึง ความแน่นอนแห่งปัจจัยหรือความแน่นอนตามปัจจัย  สิ่งที่แน่นอนตามปัจจัยนั้น  ก็คือ อวิชชา  สังขาร  ฯลฯ  ชาติ  ชรามรณะ  ซึ่งก็หมายความว่า  อวิชชา เป็นปัจจัยให้สังขารเกิดแน่นอน  สังขารเป็นปัจจัยให้วิญญาณเกิดแน่นอน   วิญญาณเป็นปัจจัยให้นามรูปเกิดแน่นอน  นามรูปเป็นปัจจัยให้สฬายตนะเกิดแน่นอน   สฬายตนะเป็นปัจจัยให้ผัสสะเกิดแน่นอน  ผัสสะเป็นปัจจัยให้เวทนาเกิดแน่นอน  เวทนาเป็นปัจจัยให้ตัณหเกิดแน่นอน  ตัณหาเป็นปัจจัยให้อุปาทานเกิดแน่นอน  อุปาทานเป็นปัจจัยให้ภพเกิดแน่นอน   ภพเป็นปัจจัยให้ชาติเกิดแน่นอน   ชาติเป็นปัจจัยให้ชรามรณะเกิดแน่นอน   เมื่อมีชาติ ชรามรณะ  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์  โทมนัส  อุปายาส  ย่อมเกิดด้วยอย่างแน่นอน
     3.  อิทัปปัจจยตา   คือ  ความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย  หมายถึง  เมื่อสิ่งนี้มี  สิ่งนี้ก็มีตาม   เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้นตาม   สิ่งที่เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้ก็มีตาม  ก็คือ อวิชชา  สังขาร  ฯลฯ  ชาติ  ชรามรณะ  ซึ่งก็หมายความว่าเมื่ออวิชชามี สังขารก็มีตาม   เมื่อสังขารมี วิญญาณก็มีตาม  เมื่อวิญญาณมี นามรูปก็มีตาม  เมื่อนามรูปมี สฬายตนะก็มีตาม  เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะก็มีตาม   เมื่อผัสสะมี เวทนาก็มีตาม  เมื่อเวทนามี ตัณหาก็มีตาม   เมื่อตัณหามี อุปาทานก็มีตาม  เมื่ออุปาทานมี ภพก็มีตาม   เมื่อภพมี ชาติก็มีตาม   เมื่อชาติมี  ชรามรณะก็มีตาม   เมื่อชรามรณะมี  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์  โทมนัส  อุปายาส  ก็มีตามด้วย
     4.  ตถตา  คือ ความเป็นเช่นนั้น  หมายถึง  ความเป็นจริงอย่างนั้น  สิ่งที่เป็นจริงอย่างนั้น  ก็คือ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร   สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ฯลฯ  ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดชรามรณะซึ่งเป็นความจริงที่คงอยู่ตลอดเวลา  และเป็นความจริงที่ว่า เมื่อมีชาติ  ชรามรณะ  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์โทมนัส  อุปายาส  ก็เป็นของจริงที่เกิดตามมาจริง
     5.  อวิตถตา  คือ ความเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่เป็นเช่นนั้น  หมายถึง ความเป็นจริงอย่างนั้นไม่ผันแปรไปเป็นความไม่จริง  สิ่งที่เป็นจริงโดยไม่ผันแปรนั้น  ก็คือ  อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร   สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ  ฯลฯ  ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดชรามรณะ  และก็เป็นความจริงโดยไม่มีทางผันแปรไปได้อีกที่ว่า  เมื่อมีชาติ  ชรามรณะ  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์  โทมนัส  อุปายาส  ก็เป็นจริงที่เกิดตามมาโดยไม่ผันแปร
     6.  อนัญญถตา  คือ  ความไม่เป็นอย่างอื่น  หมายถึง เป็นอย่างอื่นจากที่เป็นมานี้ไม่ได้  สิ่งที่เป็นอย่างอื่นจากที่เป็นมานี้ไม่ได้ ก็คือ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร   สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ฯลฯ  ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดชรามรณะ   และก็เป็นอย่างอื่นจากที่เป็นมานี้ไม่ได้  ก็คือ เมื่อมีชาติ  ชรามรณะแล้วโสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์  โทมนัส  อุปายาส  ก็เป็นจริงที่เกิดตามมาโดยไม่ผันแปรเป็นอื่นจากนี้ไปได้
     7.  ปัจจยาการ  คือ  อาการตามปัจจัย  หมายถึง  อาการที่เกิดขึ้นตามปัจจัย  ซึ่งก็หมายความว่า อวิชชา  สังขาร   ฯลฯ   ชาติ  ชรามรณะ  ต่างเกิดขึ้นตามปัจจัยปรุงแต่ง   และเมื่อมีชาติ ชรามรณะแล้ว  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์  โทมนัส  อุปายาส  ก็เกิดตามปัจจัยด้วย

ที่มา : http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-32-01.htm





อาสวะ

อาสวะ

     ก่อนจะพูดถึง แต่ละขั้นตอนของวงจรปฏิจจสมุปบาทนั้น ต้องพูดถึงที่มาของสิ่งเหล่านี้ก่อน นั่นก็คือ “อาสวะ”

     อาสวะ แปล ตามรูปศัพท์ว่า สิ่งที่ไหลซ่านไปทั่ว หรือ อีกนัยหนึ่งว่า สิ่งที่หมักหมม หรือหมักดอง หมายความว่า เป็นสิ่งที่หมักดองสันดาน คอยมอมพื้นจิตใจ และ เป็นสิ่งที่ไหลซ่าน ไปอาบย้อมจิตใจ เมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าคนจะรับรู้อะไรทางอายตนะใด หรือจะคิดนึกสิ่งใด อาสวะเหล่านี้ ก็เที่ยวกำซาบซ่านไปแสดงอิทธิพล ย้อมมอมมัวสิ่งที่รับรู้เข้ามา และ ความนึกคิดนั้นๆ แทนที่จะเป็นอารมณ์ของจิตและปัญญาล้วนๆ กลับเสมือนเป็นอารมณ์ของอาสวะไปหมด ทำให้ไม่ได้ความรู้ ความคิดที่บริสุทธิ์ และเป็นเหตุก่อทุกข์ ก่อปัญหาเรื่อยไป

     โดยอาสวะนั้น เป็นที่มาแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ปุถุชนทุกคน เป็นตัวการที่ทำให้มนุษย์หลงผิด มองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นตัวตนของตน อันเป็นอวิชชาขั้นพื้นฐานที่สุด แล้วบังคับบัญชาให้นึกคิดปรุงแต่ง แสดงพฤติกรรม และกระทำการต่างๆ ตามอำนาจของมันโดยไม่รู้ตัว เป็นขั้นเริ่มต้นวงจรปฏิจจสมุปบาท คือ เมื่ออาสวะเกิดขึ้น อวิชชาก็เกิด แล้วอวิชชาก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ในภาวะที่แสดงพฤติกรรมถูกบังคับบัญชา ด้วยสังขาร ที่เป็นแรงขับไร้สำนึกทั้งสิ้น

     ๑.กามาสวะ คือ ความใฝ่การสนองความต้องการทางประสาททั้ง 5 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย)
     ๒.ภวาสวะ คือ ความใฝ่หรือห่วงในความมีอยู่คงอยู่ของตัวตน ตลอดจนการที่ตัวตนจะได้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ และ การที่จะดำรงคงอยู่ในภาวะที่อยากเป็นนั้นยั่งยืนตลอดไป
     ๓.ทิฏฐาสวะ คือ ความเห็น ความเชื่อถือ ความเข้าใจ ทฤษฎี แนวความคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่สั่งสมอบรมมา และยึดถือเชิดชูไว้
     ๔.อวิชชาสวะ คือ ความหลง ความไม่เข้าใจ คือ ความไม่ตระหนักรู้และไม่กำหนดรู้ความเป็นมาเป็นไป เหตุ ผล ความหมาย คุณค่า วัตถุประสงค์ ตลอดจนความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ หรือ เหตุการณ์ทั้งหลาย ตามสภาวะโดยธรรมชาติของมันเอง ความหลงผิดว่ามีตัวตนที่เข้าไปทำ และถูกกระทำกับสิ่งต่างๆ ไม่มองเห็นความสัมพันธ์ทั้งหลายในรูปของกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย พูดสั้นๆ ว่า ไม่เห็นตามที่มันเป็น แต่รู้เห็นตามที่คิดว่ามันเป็น หรือคิดให้มันเป็น
ต่อไปเรามาดูกันในรายละเอียดว่า ในแต่ละขั้นตอนของวงจรปฏิจจสมุปบาทนั้น ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง


http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-32-01.htm

นิยามของปฏิจจสมุปบาท


นิยามของปฏิจจสมุปบาท



เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี                    
                           
                                                             
     ปฏิจจสมุปบาท อธิบายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย 12 เรื่องเกิดขึ้นสืบ ๆ เนื่องกันมาตามลำดับดังนี้ คือด้านบนนี่ เป็นเทศนาที่เรียกว่า อนุโลมเทศนา และหากพิจาณาย้อนกลับจะเรียกว่า ปฏิโลมเทศนาพอเราๆ ท่านๆ ที่เป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา อ่านหลักธรรมด้านบนนี้แล้ว คงจะงงๆ ว่าแล้วมันคืออะไร มีแต่คำศัพท์ยากๆ ยากที่จะเข้าใจทั้งนั้นเลย อะไรคือสฬายตนะ อะไรคือผัสสะ … ดังนั้นเลยจะขออธิบายแบบง่ายๆ ดังนี้

 ที่มา  :  http://www.chatchawan.net

ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาท


           ปฏิจจสมุปบาทเป็นพุทธธรรมที่สำคัญอย่างยิ่งยวด  และเป็นเรื่องที่มีความลึกซึ้งที่สุด   จนได้ชื่อว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนา  หรือตัวแท้ของศาสนา  ( แก่นแท้ของพุทธศาสนา )  ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาทอาจเห็นได้จากพระพุทธพจน์ตอนหนึ่งว่า "ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม   ผู้ใดเห็นธรรม  ผู้นั้นย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท"
"ภิกษุทั้งหลาย  แท้จริงแล้ว  อริยสาวกผู้เรียนรู้แล้ว  ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้มี  สิ่งนี้จึงมี  เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น  สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น  ฯลฯ  เมื่อใดอริยสาวกรู้ทั่วถึงความเกิด ความดับของโลกตามที่มันเป็นเช่นว่านี้  อริยสาวกนั้น  เรียกว่าเป็นผู้มีทิฐิสมบูรณ์  (ความเห็นที่ถูกต้องอย่างสมบูรณ์) ก็ได้   ผู้มีทัศนะสมบูรณ์ก็ได้   ผู้บรรลุถึงสัจธรรมนี้ก็ได้   ชื่อว่าผู้ประกอบด้วยเสขญาณก็ได้   ผู้ประกอบด้วยเสขวิชชาก็ได้   ผู้บรรลุกระแสธรรมแล้วก็ได้  พระอริยบุคคลผู้มีปัญญาชำระกิเลสก็ได้  ผู้อยู่ชิดติดประตูอมตะก็ได้"
     "สมณพราหมณ์เหล่าใด  รู้ธรรมเหล่านี้  รู้เหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้  รู้ความดับของธรรมเหล่านี้  รู้ทางดำเนินเพื่อดับแห่งธรรมเหล่านี้  ฯลฯ   สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล  จึงเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ  และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์  และได้ชื่อว่าได้บรรลุ-ประโยชน์ของความเป็นสมณะและประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่ง  เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน"
     ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาทนั้นมีมาก  หากเราเข้าใจอย่างชัดเจน  และปฏิบัติตามได้อย่างเหมาะสมก็จะได้รับประโยชน์สูงสุดตามจุดหมายของพุทธศาสนา  ซึ่งถือว่าเป็นแก่นแท้หรือสาระสำคัญสูงสุดของพุทธศาสนา  ในกาลครั้งหนึ่ง พระอานนท์กราบทูลกับพระพุทธเจ้าว่า เรื่อปฏิจจสมุปบาทดูเป็นเรื่องง่ายและตื้นสำหรับตัวท่านเอง   พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนพระอานนท์ว่า
"ดูก่อนอานนท์  เธออย่ากล่าวอย่างนั้น  ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องลึก  ลักษณะโครงสร้างก็ลึกซึ้ง  หมู่สัตว์นี้ไม่รู้  ไม่รู้ตามที่เราสอน  ไม่แทงตลอดหลักปฏิจจสมุปบาท  จิตจึงยุ่งเหมือนกลุ่มด้ายที่ยุ่ง  เหมือนกลุ่มเศษด้ายที่เป็นปม  ติดพันซ่อนเงื่อนกันยุ่ง  เหมือนเชิงผ้ามุญชะและหญ้าปัพพชะ  ไม่ล่วงพ้นจากสังสาระคืออบาย  ทุคติ  วินิบาตไปได้"
     ปฏิจจสมุปบาทเป็นแก่นแท้หรือหัวใจของพุทธศาสนา  เป็นหลักแสดงถึงกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยที่สืบต่อเชื่อมโยงกันทั้งในกระบวนการเกิดและดับ   หากจะประมวลเอาสาระสำคัญของปฏิจจสมุปบาทนั้น  ไม่อาจกล่าวให้ครอบคลุมได้ทั้งหมด  แต่อาจสรุปความสำคัญบางประการได้ ดังนี้
     เป็นหลักธรรมที่แสดงถึงกฎธรรมชาติของสรรพสิ่ง  ซึ่งมีการไหลไปไม่หยุดนิ่ง มีเกิดในเบื้องต้น  แปรปรวนในท่ามกลาง  และแตกดับไปในที่สุด
เป็นหลักธรรมที่แสดงถึงกฎธรรมดาของสรรพสิ่ง  ซึ่งเป็นของไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  และเป็นอนัตตา
เป็นหลักธรรมที่แสดงถึงกฎแห่งสงสารวัฏ คือวงจรแห่งความทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยกิเลส  กรรม  วิบาก
เป็นหลักธรรมข้อใหญ่ที่ประมวลเอาความหมายแห่งธรรมทั้งหลายมาไว้
เป็นธรรมที่ว่าด้วยเรื่องชีวิตของมนุษย์ในขณะนี้และเดี๋ยวนี้

ที่มา : http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-32-01.htm

ปฏิจจสมุปบาท


เป็นหลักธรรมที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการเกิดการดำเนินไปและการดับไปของชีวิต  รวมถึงการเกิด  การดับแห่งทุกข์ด้วย  ในกระบวนการนี้สิ่งทั้งหลายจะเกิดขึ้น   เป็นอยู่  และดับลงไปในลักษณะแห่งความสัมพันธ์กันเป็นห่วงโซ่  เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันในรูปของ วงจร กล่าวคือ  เป็นกระบวนแห่งความสัมพันธ์กันเป็นห่วงโซ่  ในกระบวนแห่งปฏิจจสมุปบาทนั้นไม่มีส่วนไหนเป็นปฐมกรหรือปฐมเหตุ  เพราะกระบวนการของชีวิตเป็นวัฏฏะแห่งกิเลส  กรรม  วิบาก  ซึ่งกลายเป็นวัฏสงสาร
     แต่อย่างไรก็ตาม ในการพยายามอธิบายกระบวนการแห่งชีวิต ตามหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ จำเป็นจะต้องหาจุดเริ่มต้นอธิบายให้เห็นว่า เป็นเหตุเป็นปัจจัยกันอย่างไรก่อน  ดังนั้นท่านจึงสมมติเริ่มจากอวิชชา   โดยอธิบายอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสิ่งอื่น ๆ  ตามมาเป็นวัฏจักรนำไปสู่ทุกข์  ในทำนองเดียวกัน ถ้าอวิชชาดับไปไม่เหลือ  ก็จะเป็นเหตุนำไปสู่การดับทุกข์ได้ในที่สุด  เพราะความเป็นไปของชีวิตมีสภาวะเป็นวงจรที่เรียกว่าสงสารวัฏ   ดังนั้นเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดของสังสารวัฏจึงไม่ปรากฏ
     ลักษณะอีกประการหนึ่งที่นับว่าเป็นหลักเกี่ยวกับความรู้ในพุทธปรัชญา  ก็คือ  พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงแสวงหาความจริงทั้งหลาย   ที่ไม่สามารถนำมาอธิบายได้ด้วยหลักปฏิจจสมุปบาท  อันได้แก่ อัพยากตปัญหา  คือปัญหาที่ไม่สามารถจะพิสูจน์ได้ด้วยประสบการณ์ของมนุษย์   เช่น   ปัญหาเกี่ยวกับโลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง  สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วมีอยู่หรือไม่มีอยู่  ฯลฯ เป็นต้น  เพราะความรู้เรื่องอภิปรัชญาเช่นนี้ไม่นำไปสู่ความสิ้นทุกข์และไม่มีผลในทางปฏิบัติสำหรับชีวิตจริง  เป็นปัญหาที่อธิบายแล้วคนไม่อาจจะมองเห็นและเข้าใจได้
     ปฏิจจสมุปบาท จึงหมายถึง สิ่งที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้น ได้แก่  ภาวะของสิ่งที่ไม่เป็นอิสระของตนต้องอาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้นได้
    คำว่า ปฏิจจสมุปบาท นี้ พระพุทธโฆษาจารย์  ได้แปลไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า  สภาวธรรมที่เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยซึ่งกันและกัน
ชื่อต่าง ๆ ของปฏิจจสมุปบาท ยังมีคำอื่น ๆ เรียกแทนคำว่า "ปฏิจจสมุปบาท"  (คำอันเป็นไวพจน์) ได้อีก คือ
ธัมมฐิตตา  หรือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยามตา หรือ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจยตา ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา ปัจจยการ

ที่มา : http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-32-01.htm